
หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้
หลักการและเหตุผล
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เป็นการนำจุดเด่นของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกวิชามาใช้ในการแก้ปัญหา ค้นคว้า และพัฒนาให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนในแต่ละสาขาวิชาร่วมมือกันหรือชี้แนะแนวทางหลักการในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้โดยมีพื้นฐานของสาขาวิชานั้นๆ เป็นองค์ประกอบ เพราะในการทำงานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความรู้หลายด้านในการทำงาน มิได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วน ๆ การจำลองการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้คิดและประเมินผลการแก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็นหลัก และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีแหล่งการเรียนรู้ในการทำกิจกรรม STEM
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการบูรณาการกิจกรรม สร้างสรรค์ และพัฒนาชิ้นงานให้ดีขึ้น
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผู้เรียนร้อยละ 90 ของอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการแหล่งการเรียนรู้ บรรยากาศ และสภาพแวดล้อม มีเพียงพอต่อการเป็น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้หุ่นยนต์
2. ผู้เรียนได้ลงมือฝึกปฏิบัติในการแก้ปัญหา และสร้างผลงานอย่างสร้างสรรค์
นักเรียนได้รับประสบการณ์จริง และประยุกต์ใชัความรู้ในการแข่งขันภายนอก และงานของโรงเรียนโอกาสต่าง ๆ
ประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ และกิจกรรมโรงเรียน
